Modulus 10
กำหนดน้ำหนักให้หลักแต่ละหลักของตัวเลขที่ตั้งขึ้นมา โดย
ตำแหน่งเลขคี่ ให้ค่าเป็น 2
ตำแหน่งเลขคู่ ให้ค่าเป็น 1
นำตัวเลขแต่ละหลักไปคูณกับค่าน้ำหนักที่หาได้ในข้อ 1 ถ้ามีค่ามากกว่า 9
ให้นำหลักหน่วยกับสิบ บวกกันก่อน (เช่น คูณกันแล้วได้ 18 ก็นำ 1 + 8 ค่าที่ได้คือ 9)
บวกค่าที่ได้ของแต่ละหลักเข้าด้วยกัน
นำค่าที่ได้ หารด้วย 10 เหลือเศษเท่าไหร่ นำเศษนั้นไปลบออกจาก 10 อีกครั้ง
ผลลัพธ์ที่ได้คือ check digit ให้นำไปใส่ต่อท้ายชุดของตัวเลขนั้น

ตัวอย่าง รหัสต่างๆที่ใช้ MODULUS 10 ได้แก่
หมายเลขบัตรเครดิต
เลขสมุดบัญชีธนาคาร
เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
Modulus 11
กำหนดน้ำหนักโดยเริ่มจากหลักหน่วย โดยหลักหน่วยให้ค่าเริ่มต้นเป็น 2 ในหลักถัดไปก็บวก เพิ่มทีละ 1
นำตัวเลขแต่ละหลักไปคูณกับค่าน้ำหนักที่หาได้ในข้อ 1
บวกค่าที่ได้ของแต่ละหลักเข้าด้วยกัน
นำค่าที่ได้ หารด้วย 11 เหลือเศษ ให้นำเศษนั้นไปลบออกจาก 11
ถ้าลบแล้วมีค่าเป็น 10 นำ 0 ไปเป็น check digit ถ้ามีค่าเป็น 11
นำ 1 ไปเป็น check digit ถ้าต่างจากนี้นำค่านั้นไปเป็น check digit

รหัสต่างๆที่ใช้ MODULUS 11 เช่น
หมายเลข ISBN
เลขประจำตัวประชาชน
ข้อมูลเหล่านี้อ้างอิงมาจาก slide ของ อาจารย์เกษม กมลชัยพิสิฐ
No comments:
Post a Comment